บริษัท คิวเอไอซี (ประเทศไทย) จำกัด


บริษัท คิวเอไอซี (ประเทศไทย) จำกัด จัดตั้งเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นหน่วยตรวจประเมินรับรองระบบมาตรฐานสากลที่ได้รับความเชื่อถือให้กับสถานประกอบการ องค์กร/หน่วยงานที่นำข้อกำหนดตามมาตรฐานสากลต่างๆมาประยุกต์ และได้รับการรับรองระบบงานจาก United Kingdom Accreditation Service(UKAS) เลขที่46

ได้แก่ ISO9001:2015, ISO14001:2015, ISO45001:2018, ISO22000:2018, GHPs, HACCP, BRC, ISO13485:2016,ISO50001 โดยมีทีมผู้ตรวจประเมินที่มีประสบการณ์และมีความสามารถสูงในการตรวจสอบและ รับรองระบบมาตรฐานสากลซึ่งได้มีการจัดทำระบบการบริหารจัดการคุณภาพของหน่วยรับรองตามข้อกำหนด ISO/IEC 17021-1:2015

บริษัท คิวเอไอซี (ประเทศไทย) จำกัด จะบริหารงานของการบริการตรวจสอบและรับรองระบบมาตรฐานตามนโยบาย ดังนี้

 “มุ่งมั่นบริการตรวจสอบและรับรองระบบมาตรฐานให้กับลูกค้าอย่างมีคุณภาพ เป็นกลาง น่าเชื่อถือ
และเป็นไปตามมาตรฐานสากล ISO/IEC17021-1 เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสนองความพึงพอใจของลูกค้า”

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายดังกล่าว บริษัท คิวเอไอซี (ประเทศไทย) จำกัด จะดำเนินการดังนี้

  1. บริหารงานและดำเนินการอย่างมืออาชีพให้สอดคล้องกับข้อกำหนดที่ระบุในมาตรฐานISO/IEC 17021-1:2015 และตามข้อกำหนดหลักเกณฑ์การรับรองอื่นๆ ของหน่วยรับรอง 
  2. ดำเนินการให้บริการตรวจสอบระบบการควบคุมกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร  ตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ด้วยวิธีการที่กำหนดในมาตรฐานสากล หรือมาตรฐานที่ผู้ขอรับบริการร้องขอ  เพื่อให้ได้ผลการตรวจสอบที่ถูกต้อง เป็นที่น่าเชื่อถือ  สอดคล้องตามข้อกำหนด และเป็นที่พึงพอใจของลูกค้า
  3. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพและทักษะที่เหมาะสมต่องานของแผนกบริการตรวจสอบและรับรองระบบ โดยจัดให้มีการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องต่อการพัฒนาระบบงาน
  4. ให้เจ้าหน้าที่ทุกคนสามารถปฏิบัติงานได้โดยอิสระ ไม่มีภาวะกดดันจากกระบวนการตรวจสอบทั้งภายในและภายนอกองค์กร  ซึ่งมีผลกระทบต่อความเที่ยงตรงของผลการตรวจสอบ
  5. ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของแผนกบริการตรวจสอบและรับรองระบบทุกคนทราบและเข้าใจในเนื้อหาของคู่มือคุณภาพสามารถปฏิบัติตามนโยบายและขั้นตอนวิธีการที่กำหนดในคู่มือคุณภาพและเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องและเหมาะสม

วัตถุประสงค์ด้านคุณภาพและเป้าหมายที่วัดผลได้บริษัท (KPIs) :

  1. จำนวนลูกค้าใหม่จากการตรวจประเมินปีละ                                =      ไม่ต่ำกว่า 30 รายต่อปี
  2. อัตราลูกค้าร้องเรียนหรืออุทธรณ์หรือยกเลิกกกรรับรอง                 =      ไม่เกินปีละ 3 ราย
  3. % อัตราการส่งรายงาน Audit Report ตรงเวลา                          =      ไม่ต่ำกว่า 70% ต่อเดือน
  4. ความพึงพอใจในด้านบริการตรวจรับรอง                                  =      ไม่ต่ำกว่า 80% ต่อเดือน
  5. อัตรากำลังการให้บริการตรวจประเมิน                                    =      ไม่ต่ำกว่า 20 Man-day ต่อเดือน
  6. อัตราการพัฒนาฝึกอบรมบุคลากร                                          =      ไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง/คน/ปี

เป้าหมายของเรา

  1. มุ่งมั่นในการให้บริการที่สอดคล้องต่อความต้องการและ คาดหวังของลูกค้า โดยยึดถือหลักการในการเป็นพันธมิตรกับลูกค้าในการส่งมอบบริการงานรับรองระบบ ที่ช่วยให้ท่านเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในงานรับรองระบบ
  2. มุ่งเน้นให้ลูกค้าจะได้รับการตรวจประเมินที่รวดเร็ว และมีคุณภาพ เอื้ออํานวยความสะดวกในการวางแผนงานของลูกค้า และเพื่อทําให้ลูกค้าได้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการรับรองระบบบริหาร พร้อมได้รับพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  3. มุ่งเน้น การให้บริการหลังการรับรองระบบ เพื่อให้ลูกค้าไม่เพียงแต่ดํารงรักษาระบบไว้ได้เท่านั้น แต่ยังสามารถปรับปรุงและพัฒนากระบวนการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดียิ่ง ขึ้น
  4. ทําการดําเนินการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ชื่อของลูกค้า ให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้รับทราบ เพื่อเป็นการช่วยขยายโอกาสทางการตลาดให้กับลูกค้าอีกทางหนึ่ง
  5. ลูกค้าของจะได้รับทราบข่าวสารความเคลื่อนไหวในวงการมาตรฐาน ISO และอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

นโยบายความเป็นกลาง

  1. จะให้การบริการให้สอดคล้องกับกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมของหน่วยงานตรวจสอบและรับรองระบบ
  2. จะจัดให้มีทรัพยากรที่เพียงพอทั้งทางด้านบุคลากร เครื่องมือ อุปกรณ์ เพื่อป้องกันความกดดันในกิจกรรมของหน่วยงานตรวจสอบและรับรองระบบ
  3. จะจัดให้มีการเลือก และมอบหมายงานที่เป็นอิสระของผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองระบบ และผู้ที่ทำหน้าที่ทบทวน อนุมัติรายงานผลการทดสอบ ซึ่งจะต้องที่ไม่ใช่บุคคลเดียวกันกับตรวจสอบและรับรองระบบและจะต้องไม่มีผลประโยชน์จากภายนอกมาเกี่ยวข้อง
  4. จะให้อิสระแก่บุคลากรของผู้ตรวจสอบและรับรองระบบ รวมถึงการตัดสินใจบนพื้นฐานความถูกต้องทางด้านวิชาการ โดยไม่นำความกดดันด้านการค้า การเงิน หรือความกดดันอื่น ๆ มาทำให้เสียความเป็นกลาง และไม่ใช้อิทธิพลใด ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงการจัดการงานที่เข้ามามากอย่างเหมาะสมไม่ให้มีผลกระทบกับการปฏิบัติงาน
  5. หลีกเลี่ยงความสัมพันธ์ใดๆ กับลูกค้าหรือผู้เกี่ยวข้องที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นกลางในกิจกรรมของหน่ายตรวจสอบและรับรอง และจะแสดงความเป็นอิสระและความเป็นกลางในกิจกรรมก่อนเริ่มงาน
  6. มั่นใจในบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ไม่เลือกปฏิบัติ และให้ความเสมอภาคต่อลูกค้าทุกราย
  7. จะไม่มีการทำการตลาดร่วมกับกิจกรรมของหน่วยตรวจสอบและรับรองระบบ รวมถึงการจัดกิจกรรมของบริษัทฯ จะต้องไม่มีผลกระทบต่อความเป็นกลางต่อดำเนินการ