OHSAS 18001:2007


OHSAS 18001

ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย / (Occupational Health Safety System)คือ ระบบที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการภายในองค์กรเพื่อลด ความเสี่ยงต่ออันตราย และความปลอดภัย ของพนักงานปรับปรุงการดำเนินการขององค์กรให้เกิดความปลอดภัยและช่วยสร้างภาพ พจน์ความรับผิดชอบขององค์กรต่อพนักงานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (มอก. 18001:2550 และ OHSAS 18001:2007)  Occupational  Health  and  Safety  ManagementSystem

ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย : มอก. 18001 : 2550  กำหนดขึ้นโดย ใช้ BS 8800  (Guide  to  Occupational Health and Safety Management System) เป็นแนวทาง อาศัยหลักของระบบการจัดการอาชีวอนามัย และ ความปลอดภัย เข้ากับ ระบบการจัดการขององค์กร โดยมีเป้าหมายเพื่อลดและควบคุมความเสี่ยงอันตราย ของพนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจให้เกิดความ ปลอดภัยและส่งเสริมภาพพจน์ด้านความปลอดภัยและส่งเสริมภาพพจน์ด้านความรับผิด ชอบขององค์กรที่มีต่อพนักงาน และสังคมมาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัย และ
 
ความปลอดภัย OHSAS18001:2007 กำหนดขึ้นโดยอ้างอิง BS 8800 มาตรฐานของประเทศต่างๆ และมาตรฐาน ระบบ OHSMS ของหน่วยรับรองต่างๆมาตรฐานมอก.18001:2550และ OHSAS 18001:2007ได้กำหนดขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เกี่ยว ข้องเพื่อให้เกิดระบบการตรวจประเมินและการรับรองความสอดคล้องของระบบการ จัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
 
โครงสร้างของมาตรฐาน
  • หลักการที่ 1 คือ ความมุ่งมั่นและนโยบาย (Commitment and Policy)
  • หลักการที่ 2 การวางแผน (Planning)
  • หลักการที่ 3 การนำระบบไปปฏิบัติ (Implementation)
  • หลักการที่ 4 การตรวจวัดและการประเมินผล (Measurement and Evaluation)
  • หลักการที่ 5 การทบทวนระบบและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Review and Improvement)

ประโยชน์ในการนำระบบ มอก. 18001 :2550 และ OHSAS 18001:2007 ไปปฏิบัติ ช่วยลดต้นทุนในระยะยาว เนื่องจากสามารถควบคุมและลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นต่อความเสีย หายทางด้านร่างกายและทรัพย์สิน อาจรวมถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

  • เกิดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี พนักงานมีความปลอดภัยในการทำงาน
  • สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร
  • มีการพัฒนาบุคลากรให้มีการวางแผน การทำงานเป็นทีม การพัฒนาความรู้เกี่ยวกับระบบการจัดการ ซึ่งมีการวางแผนการปฏิบัติการตรวจสอบ รวมถึงการแก้ไขข้อบกพร่องและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานมากขึ้น
  • ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย